เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16:48 / ผู้เข้าชม : 847 ประวัติศาสตร์
เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

เวลาในประวัติศาสตร์ คือ อดีตที่มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเหตุการณ์ในอดีต

ความสำคัญของเวลาในประวัติศาสตร์

  • การลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
  • การเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน
  • การสร้างความต่อเนื่องของเหตุการณ์ในอดีต
  • การเปรียบเทียบเหตุการณ์ร่วมสมัยในประวัติศาสตร์

การนับและเทียบศักราชในประวัติศาสตร์ไทย

            ศักราช หมายถึง อายุเวลาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยยึดถือเอาเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น แล้วนับเวลาเป็นปีเรียงตามลำดับติดต่อกันมา ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยพบว่ามีการใช้ศักราชหลายแบบ

  •  พุทธศักราช พ.ศ.

            เป็นศักราชทางพระพุทธศาสนา สำหรับประเทศไทย เริ่มต้นใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย

  •  มหาศักราช ม.ศ.

            เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียมีพระราชดำริขึ้นและปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1

  • จุลศักราช จ.ศ.

            เป็นศักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามมีพระราชดำริขึ้น

  •  รัตนโกสินทร์ศก ร.ศ.

            เป็นศักราชที่รัชกาลที่ 5 พระราชดำริขึ้น เลิกใช้สมัยรกาลที่ 6

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

            การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยจะแบ่งเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

  • หินใหม่
  • สำริด
  • เหล็ก

สมัยประวัติศาสตร์

  • ก่อนสุโขทัย
  • สุโขทัย
  • อยุธยา
  • ธนบุรี
  • รัตนโกสินทร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

 ยุคหินเก่า

  • มีอายุประมาณ 700,000 – 10,000 ปีมาแล้ว
  • อยู่เป็นครอบครัวขนาดเล็กอาศัยอยู่ในถ้ำ เร่ร่อนตามฝูงสัตว์
  • ค้นพบเครื่องมือหินกะเทาะ สำหรับ สับ ตัด ขุด
  • แหล่งโบราณคดีที่พบ ได้แก่ บ้านแม่ทะ (ลำปาง) บ้านเก่า (กาญจนบุรี)

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

ยุคหินใหม่

  •  มีอายุประมาณ 10,000 – 4,000 ปีมาแล้ว
  • ตั้งหลักถาวรใกล้แม่น้ำ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ฝังศพ แลกเปลี่ยนค้าขาย
  • ค้นพบเครื่องมือหินขัด ภาชนะ เครื่องปั้นดินเผา
  • แหล่งโบราณคดีที่พบ ได้แก่ บ้านเชียง (อุดรธานี) บ้านโนนนกทา (ขอนแก่น)

 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

ยุคสำริด

  • มีอายุประมาณ 4,000-2,500 ปีมาแล้ว
  • อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น รู้จักถลุงแร่ และน้ำแร่มาผสมทำโลหะสำริด (ทองแดง+ดีบุก)
  • ค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้จากสำริดและเครื่องมือประดับ
  • แหล่งโบราณคดีที่พบได้แก่บ้านเชียง และบ้านนาดี (อุดรธานี)

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

ยุคเหล็ก

  • มีอายุประมาณ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว
  • อยู่ร่วมกันเป็นเมือง รู้จากการถลุงเหล็ก มีพิธีกรรมตามความเชื่อ มีการติดต่อค้าขายกับต่างแดน
  • ค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็กซึ่งแข็งแกร่งกว่าสำริด
  • แหล่งโบราณคดีที่พบ ได้แก่ บ้างเชียง(อุดรธานี) บ้านดอนตาเพชร (กาญจนบุรี)

สมัยอาณาจักรโบราณ

            อาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด คือ อาณาจักรทรารวดี พบเหรียญเงินจากที่มีจารึก “ศรีทรารวตี ศวรปุณยะ” อาณาจักรโบราณอื่น เช่น ละโว้ ตามพรลิงค์ ศรีวิชัย

สมัยสุโขทัย

            สมัยสุโขทัย เริ่มเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิพย์สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ. 1792 จนถึงสุโขทัยเสื่อมอำนาจเมื่อ พ.ศ. 2006 มีการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีการสร้างศิลปะแบบสุโขทัย เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม (หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์)

 

สมัยอยุธยา

  • สมัยการวางรากฐานอำนาจและเสริมสร้างความมั่นคง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ถึง สมัยเจ้าสามพระยาอาณาจักรมีขนาดเล็กสร้างความมั่นคงโดยการเป็นมิตรกับขอมในระยะแรกมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะกับจีน
  • สมัยที่มีอำนาจทางการเมืองและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การปกครองเป็นระบบและมั่นคงยิ่งขึ้นติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวางแม้จะเสียกรุงครั้งที่ 1 แต่ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วมีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่หลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น

 

สมัยธนบุรี

เป็นสมัยกอบกู้เอกราชหลังจากเสียกรุง จุดมุ่งหมายคือการสร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่ มีการฟื้นฟูศาสนา ศิลปกรรม วรรณกรรม สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้เขียนสมุดไตรภูมิ ทรงให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้นใหม่ และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

 

รัตนโกสินทร์

 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3 เรียกว่าสมัยการทำให้เหมือนครั้งบ้านเมืองดี

  • รัชกาลที่ 1 มีการชำระกฎหมายตราสามดวง
  • รัชกาลที่ 2 ทรงส่งเสริมด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม
  • รัชกาลที่ 3 ทรงทำสัญญาพระราชไมตรีและการค้ากับอังกฤษ

รัตนโกสินทร์

  • รัชกาลที่ 4 เป็นช่วงปรับปรุงประเทศ เช่น การติดต่ออย่างเป็นทางการกับชาติตะวันตก มีการปรับปรุงคมนาคม ถนนเจริญกรุง ขุดคลองเจดีย์บูชา
  • รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงปฏิรูปประเทศในทุกด้าน เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัย และป้องกันการยึดครองจากจักรวรรดินิยมตะวันตก มีการบฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่กรุงเทพ ถือเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างสมบูรณ์

รัตนโกสินทร์

  • รัชกาลที่ 6 เป็นช่วงของการนำประเทศเข้าสู่สังคมโลก เช่น ส่งทหารเจ้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างแนวคิดชาตินิยมให้จงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กำหนดให้ใช้นามสกุล คำนำหน้านาม
  • รัชกาลที่ 7 ได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐต้องลดงบประมาณและจำนวนข้าราชกาล เกิดกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

สมัยประชาธิปไตย

            พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศอำนาจการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ

 

Related content

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021