รู้หรือไม่16ก.ย.วันโอโซนโลก

16 กันยายน 2566 เวลา 08:10 / ผู้เข้าชม : 23 ภูมิศาสตร์
รู้หรือไม่16ก.ย.วันโอโซนโลก


โอโซน (OZONE) 

เกิดจากธรรมชาติ เป็นก๊าซสีน้ำเงินที่พบเป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศของโลก มีหน้าที่สำคัญคือ 

เป็นเกราะช่วยป้องกัน กรองรังสีต่างๆจากดวงอาทิตย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ให้เข้าสู่โลก 

โอโซนเป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม (O3) ออกซเจน(O2) 1โมเลกุล และโดยการกระตุ้นของรังสียูวีซี

 ออกซิเจนอิสระ(o)1โมเลกุล จึงรวมกันเป็นสามโมเลกุล



 

ประวัติวันโอโซนโลกและความเป็นมา 

เกิดจากหลายประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) 

เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา” และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" และจัดให้ลงนามใน 

"พิธีสารมอนทรีออล" ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน ปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนา 

ดังนั้น องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น 

"วันโอโซนโลก" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา 



 

อนุสัญญาเวียนนา

นับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ชั้นโอโซน 

และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน 

ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 191 ประเทศ

          

สำหรับประเทศไทย 

  • ได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 
  • และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 
  • มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 



 

ผลของพิธีสารในขั้นต้น สารเคมีที่ถูกควบคุม 

คือ สาร CFC (Chlorofluorocarbon) รวม 5 ชนิด และสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด 

รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท 

เช่น สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับเป่าโฟม และเป็นฉนวนในโฟม

รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความสะอาด ล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 

หรือแม้แต่สารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย 

ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น

เป้าหมายของการกำหนดวันโอโซนโลก

       1. เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก 

       2. เพื่อช่วยกันลดการใช้สารซีเอฟซี และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ 



 

เราจะทำอะไรเพื่อช่วยโลกได้บ้าง

       แม้จะมีสนธิสัญญาเพื่อลดและเลิกการใช้สาร CFC แล้ว แต่สาร CFC ยังจำเป็นต่ออุตสาหกรรมบางชนิด 

จึงยังมีการใช้ CFC กันอยู่ต่อไป ก๊าซโอโซนก็ยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบเป็นภาวะโลกร้อน

อย่างที่มนุษย์เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของโลกจะสามารถช่วยลดสาร CFC ได้โดย 

 

  1. เลือกซื้อ และใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs 
  2. หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในบ้าน 



 

3. ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ปล่อยสาร CFC ที่จะออกมาทำลายชั้นโอโซนได้ ดังนั้น 

ควรเปลี่ยนตู้เย็นที่ใช้มานานกว่า 10 ปี และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนัก 


4. เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์ รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย ซึ่งมีสาร CFC 

เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต และวัสดุเหล่านี้ยังย่อยสลายได้ยากอีกด้วย

รูโหว่บนโอโซน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดรูโหวในชั้นโอโซน คือ การใช้สารเคมีกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

(ซีเอฟซี) เป็นสารทำความเย็นและตัวทำละลาย เมื่อซีเอฟซีแตกตัวจะปล่อยอะตอมของ

คลอรีนออกมาทำลายโมเลกุลของโอโซนได้มากกว่า100,000 โมเลกุลโอโซนต่อ

1 โมเลกุลคลอรีน



 

โอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere Ozone)  เป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)  

ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ในธรรมชาติ โอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซน 

ส่วนใหญ่ในชั้นสตราโทสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบาง ๆ  ที่ระยะสูงประมาณ 20-30 กิโลเมตร ทำหน้าที่ 

กรองรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ออกไป  99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับ 

รังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง  ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็กอย่างเช่น แบคทีเรียก็จะถูกฆ่าตาย 

 

โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone)  เป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 

และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยดูดกลืน รังสีอินฟราเรด ทำให้เกิดพลังงาน

ความร้อนสะสม บนพื้นผิวโลกประมาณ 2.85 วัตต์/ตารางเมตร  โอโซนในชั้นนี้เกิดจากการ

เผาไหม้มวลชีวภาพและ การสันดาปของเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก การจราจรติดขัด 

เครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน  เมื่อโอโซนอยู่

ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว  มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อ 

ร่างกาย ดังนั้น คำพูดที่ว่า "ออกไปสูดโอโซนให้ สบายปอด" จึงเป็นความเข้าใจผิด

ภาพสีเท็จของโอโซนรวม เหนือทวีปแอนตาร์กติกา สีม่วงและสีน้ำเงินแสดงบริเวณที่มีปริมาณโอโชนต่ำสุด

สีเหลืองและสีแดงแสดงบริเวณที่มีปริมาณโอโชนสูงสุด เปรียบเทียบตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘

เมื่อมีการค้นพบรูโหวในชั้นโอโซนเป็นครั้งแรก 

https://ozonewatch.gsfc.nasa.gov/Scripts/bigimage.



 

Related content

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021