หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ.2532และยังเป็นผู้ทุ่มเทเขียนรายงานนำเสนอต่อ
ยูเนสโก UNESCO เพื่อพิจารณาให้ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง เป็น มรดกโลกเพื่อให้พื้นที่
ป่าแห่งนี้ได้รับการคุ้มครองเต็มที่ได้ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยศึกษาเรื่องพันธ์ไม้และสัตว์ป่ามากมาย
และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 เป็นวันสุดท้ายของสืบ เขาเขียนพินัยกรรมไว้ และเสียสละชีวิตเพื่อเรียกร้อง
ให้สังคมและราชการหันมาสนใจปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้มีอิทธิพลและ
กลุ่มคนมาบุกรุกพื้นที่ทำลายป่ามาโดยตลอด การอนุรักษ์ป่าก็ถูกลดทอนความสำคัญจากภาครัฐเป็นอย่างมาก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๕๐
ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
มาตรา ๕๗ (๒)
อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและ
ยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้รับ
ประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๗๒
รัฐพึงดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรน้ำและพลังงานดั้งต่อไปนี้
(๑) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่
และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๒) จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมี
ประสิทธิภาพรวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับ
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่
(๓) จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมี
ที่ทำกินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
(๔) จัดให้มีทรัพยากรน้ำที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของ
ประชาชน รวมทั้งการประกอบเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการอื่น
(๕) ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ารวมทั้งพัฒนาและสนับสนุนให้มีการผลิตและ
การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อเสริ่มสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
มาตราที่ ๔๓ (๒)
จัดการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๕๘
การตำเนินการใดของรัฐหรือที่ รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อ
ทรัพยากรธรรมยาตี คุณภาพสั่งแวคล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาฬชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นไดของ
ประทาหนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้ผมอย่างรุนแรง รัฐต้องตำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระพบ
ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมแสะสุทภาพของประชาชนหรือชุมยน และการจัดไห้มีการ์รับฟังความคิดเห็นของ
ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อนเพื่อนำมาประกอบการพีจารณาคำเนินการหรือ
อนุญาตตามที่กฎหมายนัญญัติ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองส่งแวดล้อมการควบคุมมลพิษ มาตรการส่งเสริม ความรับผิด
ทางแพ่งซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่า
เสียหาย และบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นกฎหมายที่กำหนดการรักษาความสะอาด การดูแลรักษาต้นไม้ การห้ามทิ้ง
สิ่งปฏิกูลมูลฝอยในที่สาธารณะและสถานสาธารณะการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยทั่วไป
และบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืน
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยและกำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมการให้บริการรวมทั้งกำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจนำสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ที่จัดเก็บได้ไปใช้ประโยชน์หรือหาประโยชน์ได้
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๒๗๘
พระราชบัญญัติที่คุ้มครองและอนุรักษ์สัตว์ป่าทุกชนิด
๑. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๓๕
๒. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
๓. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ ๓)พ.ศ. ๒๕๕๗
1.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523
2.นกแต้วแร้วท้องดำ
หนึ่งในนกแต้วแร้ว 12 ชนิดยังมีอยู่แต่จำนวนน้อย
3.นกกระเรียน
ยังมีอยู่แต่เหลือจำนวนน้อย
4.แรด
ปัจจุบันในไทยไม่พบเห็นแล้วยังมีอยู่ที่ประเทศอื่นแต่มีจำนวนน้อย
5.กระซู่
ปัจจุบันในไทยไม่พบเห็นแล้วยังมี่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียแต่มีจำนวนน้อย
6. สมเสร็จ
ยังมีอยู่แต่มีจำนวนน้อย
7.พะยูนหรือหมูน้ำ
ยังมีอยู่แต่เหลือจำนวนน้อย
คาดว่าอีกร์0ปีจะในไทยจะสูญพันธุ์
8.กูปรี่หรือโคไพร
ยังพอมีหลงเหลือจำนวนน้อยอยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชา
9.ควายป่า
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อย
10.ละองหรือละมั่ง
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยไทยพย้ายามอนุรักษ์โดย
การผลิตละองละมั่งในหลอดแก้วเป็นครั้งแรกในโลก
11. แมวลายหินอ่อน
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อย
12.สมัน หรือ เนื้อสมัน
ปัจจุบันในไทยไม่พบเห็นแล้วคาดว่ายั่งมีอยู่ที่ลาวจำนวนน้อยมาก
13.เลียงผา หรือเยือง
หรือกูรำ หรือโครำยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อย
14.กวางผา
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
15. เก้งหม้อ
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
พรบ.สัตว์สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับปี พ.ศ. 2562 ได้เพิ่มรายชื่อในบัญชีสัตว์สงวน 4 ชนิด
16.วาฬบรูด้า
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
17.เต่ามะเฟือง
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
18.วาฬโอมูระ
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
19.ปลาฉลามวาฬ
ยังมีอยู่เหลือจำนวนน้อยมาก
สาเหตุหลักที่ทำให้มีการสูญพันธุ์มากขึ้นเนื่องจากฝีมือของมนุษย์ที่ไม่รักษาความสะอาดให้กับน้ำทะเล
ปล่อยขยะลงในน้ำ ทำให้น้ำสกปรกขยะเหล่านั้นยังไปตกค้างในตัวพวกมัน และปัญหาการไล่ล่าสัตว์ทะเล
เพื่อการค้าและความบันเทิง เป็นสิ่งที่ควรต่อต้านและเร่งช่วยกันรักษาอย่างยิ่งเลยครับ
พรฏ.สัตว์สงวน พ.ศ. 2565 ได้เพิ่มรายชื่อในบัญชีสัตว์สงวน
วันที่ 7 กันยายน 2565 กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่าง พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าหายาก ถูกคุกคามอย่างหนัก
นกชนหินเป็น 1 ใน 13 ชนิดของนกเงือกพบบริเวณทางตอนใต้ของประเทศไทย มีจำนวนไม่ถึง100ตัว จึงถูกยกสถานะจากสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 410 เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดให้
วาฬสีน้ำเงิน หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Balaenptera musculus เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม โดยได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)
กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน ในประเทศไทยเองมีข้อมูลการพบเห็นวาฬสีน้ำเงินเฉพาะทะเลฝั่งอันดามันเพียง 3 ครั้ง และมันยังเป็นสัตว์ในรายชื่อใกล้สูญพันธุ์จาก IUCN Red List องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และ
(Thailand Red Data) เช่นกัน
๑. สัตว์ป่าคุ้มครอง
สัตว์ป่าคุ้มครอง มี ๗ ประเภท ได้แก่ ๑) สัตว์ป่าจำพวก
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน ๒0๒ ชนิด ๒) สัตว์ป่าจำพวกนก
จำนวน ๙๕๒ ชนิด ๓) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อนคลาน จำนวน ๙๒ ชนิด
(๔) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน ๑๒ ชนิด
๕) สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลัง : แมลง จำนวน ๒๐ ชนิด
๖) สัตว์ป่าจำพวกปลา จำนวน ๒๖ ชนิด ๗) สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ
จำนวน ๑๒ ชนิด รวมทั้งสิ้น ๑,๓๑๖ ชนิด
๒. สัตว์ป่าคุ้มตรองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ มี ๕ ประเภท ได้แก่
๑ สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน ๘ ชนิด ๒) สัตว์ป่า
จำพวกนก จำนวน ๔๒ ชนิด ๓) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน
จำนวน ๗ ชนิด ๔) สัตว์ป่าจำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
จำนวน ๑ ชนิด ๕) สัตว์ป่าจำพวกปลา จำนวน ๔ ชนิด
รวมทั้งสิ้น ๖๒ ชนิด
เราควรช่วยกันรักษาอนุรักษ์ป่าไว้ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้มีที่อยู่และมีชีวิตนานๆนะครับ