วัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งที่คนไทยยอมรับและยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ความเชื่อ และค่านิยม
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ และทักษะของไทยที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ซึ่งมีความสำคัญ
วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยยังมีมีความโดดเด่นหลากหลายด้าน ดังเช่น
พระพุทธชินราช
ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของประติมากรรมไทย
ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
ลวดลายปูนปั้น
หน้าบันพระอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ลายสมัยอยุธยาตอนปลายได้แสดงชั้นเชิงการใส่ภาพคน สัตว์ บ้านเรือน ผสมผสานกันกับลายเครือเถา ดอกไม้ และนก ส่วนใหญ่จะเขียนและทำอย่างละเอียด และเริ่มวิวัฒนาการเข้าสู่ระเบียบแบบแผนมากขึ้นจนอยู่ในกรอบเกณฑ์ดังเช่นลายปูนปั้นหน้าบันนี้ สมัยรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นรูปครุฑ ซ้อนด้วยรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นแกนจากฐานถึงอกไก่ ล้อมด้วยลายเครือเถาพลิ้วไหว เป็นศิลปะปูนปั้นสมัยอยุธยาที่งามที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี
บานประตูไม้แกะสลัก
พระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประตูไม้แกะสลักลงรักปิดทองของพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นศิลปวัตถุชิ้นสำคัญที่ บานประตูทำด้วยไม้สัก สูง 5 เมตร และหนักถึง 1 ตัน แกะสลักลวดลายสลับซับซ้อนอย่างวิจิตร ด้วยเทคนิคขั้นสูงที่สืบทอดจากช่างฝีมือตั้งแต่สมัยอยุธยา ทั้งยังเชื่อกันว่าส่วนหนึ่งของลวดลายแกะสลักเป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วยปัจจุบันประตูเดิมนี้ถอดเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
แกะสลักเขาสัตว์
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดฉะเชิงเทรา เขาสัตว์แกะสลักที่มาจากตำบลบางขวัญ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เป็น OTOP ของแปดริ้วที่น่าภาคภูมิใจอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะสามารถสร้างกิจการยั่งยืนมานาน กว่า 10 ปี สมาชิกกลุ่มมีรายได้มั่นคงพึ่งตนเองได้ ผลิตภัณฑ์ก็เป็นที่ต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
เครื่องสังคโลก
สมัยสุโขทัย เป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย และอยุธยา ลวดลายเครื่องสังคโลก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเครื่องลายครามของจีน สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 22 เป็นช่วงที่มีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในแคว้นต่าง ๆ โดยเฉพาะในแคว้นสุโขทัย
พระบรมมหาราชวัง
สร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๕แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง)แห่งกรุงศรีอยุธยาลักษณะของพระปรางค์ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบขอม
เจดีย์กรงพุ่มข้าวบิณฑ์
หรือทรงดอกบัวตูมเป็นสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ของศิลปะสมัยสุโขทัย
(วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย) งานสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัยในระยะแรกรับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร
ต่อมาได้พัฒนาเป็นศิลปกรรมของตนเอง
พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
เป็นพระปรางค์สถาปัตยกรรมไทย ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยปรางค์ประธานและปรางค์รองอีก 4 ปรางค์ ตั้งอยู่ที่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตัวพระปรางค์ปัจจุบันนี้มิใช่พระปรางค์เดิม ที่สร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสูงเพียง 16 เมตร โดยปรางค์ปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นแทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. 2363 แต่ก็ได้แค่รื้อพระปรางค์องค์เดิม และขุดดินวางราก ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
เจดีย์ทรงระขัง วัดช้างล้อม
ตั้งอยู่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยนักวิชาการสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1829 พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อนก่อพระเจดีย์ทับลงไป
ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ
ณ เมืองฮัมเบิร์กประเทศเยอรมนีสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาดบพิตรมีพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ (๗๒ พรรษา)ใน พ.ศ. ๒๕๕๒
เรือนไทยหรือบ้านทรงไทย
มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องดิน สะท้อนภูมิปัญญาไทยทั้งทางด้านการใช้วัสดูก่อสร้าง วิธีการสร้าง และรูปแบบที่ส่อดคล้องกับภูมิสังคมของไทย
เรือนทรงไทยจะมีลักษณะแตกต่างในแต่ละภาค ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมวิถีชีวิต และความเชื่อแต่ละภาค
จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม
ที่จังหวัดเพชรบุรีสร้างขึ้นในสมั้ยอยุธยาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดน้อยปักษ์ใต้” เป็นวัดเก่าแก่และสำคัญมากของจังหวัดเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งรวมฝีมืองานช่างที่ปราณีตอ่อนช้อยและงดงาม ของชาวเพชรบุรีไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เป็นภาพเทพชุมนุมศิลปะอยุธยาฝีมือช่างเมืองเพชร
จิตรกรรมฝาผนังวัดสระบัวแก้ว
อยู่ที่อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เป็นภาพเขียนจิตรกรรมบนฝาผนังที่ปรากฏอยู่ภายนอกสิมทั้ง 4 ด้าน พร้อมทั้งตัวอักษรกำกับไว้เป็นฝีมือการวาดของกลุ่มศิลปินพื้นบ้านจากอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มี จารย์น้อย จารย์กึ จารย์กองมา และจารย์พรหมมา ได้วาดภาพที่ชาวอีสานเรียกว่าฮูปแต้มสีธรรมชาติ ประเภทขมิ้น ครั่ง ชาตรี ดินสอพอง ไขมันสัตว์ เป็นต้น มาคลุกเคล้าผสมกันแล้วบรรจงแต้มบนฝาผนัง สิม หรือโบสถ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าจะได้กุศลยิ่ง
จิตรกรรมฝาผนัง
ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารวาดโดยขรัวอินโข่ง ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็น "จิตรกรเอกนสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นภาพปริศนาธรรม
"บัวใหญ่กลางสระ"ลักษณะการวาดรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก
สมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี
เป็นหนังสือสมุดไทยขาวที่ทำจากเยื่อเปลือกข่อยเนื้อดี มีสีขาวตามธรรมชาติของเยื่อเปลือกข่อย ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 52 เซนติเมตร หนา 10 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสมุดไทยที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำหรับเขียนเรื่องไตรภูมิ จึงกำหนดเรียกชื่อสมุดใหญ่ขนาดนี้ว่าสมุดไตรภูมิ จะบันทึกภาพเล่าเรื่องในไตรภูมิให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้ว ยังสอดแทรกสาระสะท้อนสภาพสังคมอันเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนด้วยสีสันและลวดลายจิตรกรรมแบบไทย ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของไทยให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตามประวัติกล่าวว่าเป็นสมบัติเดิม ของหอสมุดแห่งชาติ มีข้อมูลในบานแพนก บอกทั้งอายุของต้นฉบับว่าเป็นของที่สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจริงโดยศักราชที่ปรากฏ นับเป็นของชิ้นเอกฉบับสำคัญของกรมศิลปากรและของประเทศไทยด้วย
จิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
"ชุดรามเกียรติ์ล้อมรอบระเบียงคด"
สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่นี่ยังถูกยกเป็น"จิตรกรรมฝาผนังยาวที่สุดในโลก"รวมมี ถึง 178 ห้องเลย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยมีการเขียนซ่อมแซมเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้บูรณะในโอกาสครบรอบ 100 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ในการนี้ได้ทรงพระนิพนธ์โคลงประกอบภาพไว้จำนวนแปดห้อง เป็นโคลง 224 บท
การเชิดหนังใหญ่
มหรสพการแสดงที่ใช้ตัวหนังขนาดใหญ่เป็นตัวละครมีผู้เชิดให้เกิดภาพบนจอ(ภาพจะเป็นเงา)
และใช้การพากย์และการเจรจาเป็นการดำเนินเรื่อง
โขน
การแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือผู้แสดงจะสวมหัวจำลองเรียกว่า "หัวโขน" และต้นไปตามบทพากย์และทำนองเพลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมแสดงคือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์
ลิเก
การแสดงที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่รับอิทธิพลมาจากศาสนาอิสลามจากชาวเปอร์เซีย คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ذکر (เษกรฺ) ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ذِكْر (ษิกรฺ) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม ภายหลังมีการเพี้ยนคำ การปรับจากบทสวดสรรเสริญ เป็นการร้องลำนำ และเพลงภาษาต่างๆกลายเป็นการเล่นขึ้น ผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร
ฟ้อนเทียน และ ฟ้อนเล็บ
การร่ายรำของชาวไทยภาคเหนือที่อ่อนช้อยงดงาม ฟ้อนเล็บของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก
ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดง
ฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง
การฟ้อนภูไทเรณูนคร
การรำพื้นบ้านของจังหวัดนครพนมประกอบดนตรีครบชุดของวงโปงลางะ เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน
หนังตะลุง
การแสดงในท้องถิ่นภาคใต้ ด้วยการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยกันเป็นบทร้อยกรองที่ร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่นมีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ
และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าแสดงประกอบการเล่าเรื่อง
มโนราห์
การแสดงในท้องถิ่นภาคใต้ ใช้บทร้องเป็นกลอนสดผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิกาณสรรหาคำพูดให้มีสัมผัสได้อย่างฉับไว การแต่งกายและท่ารำเป็นเอกลักษณ์ผู้แสดงต้องมีความเชี่ยวซาญเป็นอย่างมาก
จารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นหลักฐานล่ายสือไทที่พ่อขุนร้ามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา
วรรณ์กรรมชิ้นเอกสมัยสุโขทัยเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑(พระยาลีไทย) เมื่อครั้งครองเมืองศรีสัชนาลัย พ.ศ.๑๘๘๘
จินดามณี
เป็นหนังสือเรียนเล่มแรกของไทยแต่งโดยพระมหาราชครูในสมัยพระนารายณ์มหาราชและใช้เป็นตำราเรียนมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ขุนช้างขุนแผน
เป็นนิทานพื้นบ้านของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอุยธยา แล้วจดจำเล่าสืบต่อกันมาแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการยกย่อง
ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา
พระอภัยมณี
วรรณคดีชิ้นเยี่ยมของไทยแต่งโดย พระสุนทรโวหารหรือ สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นิราศลอนดอน
ประพันธ์โดย หม่อมราโซทัย(หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)เมื่อเป็นท่านเป็นล่ามหลวงในคณะราชทูตไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่อัญเชิญพระราชสาสน์ไปถวายสมเด็จพระราชินีนาดวิกตอเรียแห่งอังกฤษ
วรรณกรรมของไทยมีมากมาย ทั้งเกี่ยวข้องเรื่องศาสนาเรื่องจินตนาการและเรื่องราวของผู้ประพันธ์เอง เป็นแรงบันดาลใจ
ต่อยอดเป็นทั้งบทการแสดง บทเพลง และสื่อบันเทิงให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ชื่นชมอีกมากมาย