การปฏิวัติทางภูมิปัญญา เป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้เกิดนักคิด
นักปรัชญามากมาย" ยุคแห่งความสว่างไสวทางปัญญา หรือยุคภูมิธรรม "
ช่วยกระตุ้นให้ ชาวยุโรปสนใจศึกษาหาความรู้และค้นหาความจริง ทำให้ยุโรปพ้นจากยุคมืด มีโอกาสแสวงหา ความรู้วิทยาการแขนงใหม่ที่มีอิสรภาพ และเสรีภาพมากขึ้น ส่งผลให้ชาวยุโรปมีความคิดก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง เกิดนักคิด นักปรัชญาขึ้นมากมาย ซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17-18
กษัตริย์ผู้ปฏิวัติทางภูมิปัญญา
1. จักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2แห่งรัสเชีย(Catherine tI of Russia)
ศ.ศ.1762- 1792
มีเจตนารมณ์ใน" ปฏิรูปรัสเซีย"ให้เข้าสู่ ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตกในทุกด้าน และแผ่ขยายอำนาจของรัสเซีย กว้างไกล เป็นยุคที่รุ่เรืองที่สุดของจักรวรรดิรัสเชียยังทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซียเป็นเวลา 34 ปี
คำแนะนำของพระนางแคทเธอรีนมหาราช : เป็นเอกสารทางการเมืองของรัสเซียที่จักรพรรดินีจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมาธิการด้านกฎหมายที่พิจารณาถึงการปฏิรูปภายใน แคทเธอรีนสั่งให้คณะกรรมาธิการสร้างประมวลกฎหมายใหม่และแนะนำชุดการปฏิรูปของรัฐบาลตามทฤษฎีการเมืองเสรีนิยมด้านมนุษยธรรม
“ผู้ชายทุกคนควรได้รับการพิจารณาว่าเท่าเทียมกันก่อนกฎหมาย กฎหมายควรปกป้องไม่กดขี่ประชาชน กฎหมายควรห้ามการกระทำที่เป็นอันตรายเท่านั้น ทาสควรจะยกเลิก การลงโทษประหารชีวิตและการทรมานควรยุติลง หลักการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ควรยึดถือ”
2.พระเจ้าเฟรเดริกมหาราษแห่งปรัสเซีย(Frederick The Great)
ค.ศ.1940 - 1986
ผู้ปฏิรูปกองทัพปรัสเชียใหม่และได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งยังเป็นองค์อุปก้มภ์แห่งวงการศิลปะและยุคเรื่องปัญญา
ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของ กษัตริย์ทรงภูมิธรรม (Enlightened Despotism) ด้วยทรงใช้สติปัญญาและเหตุผลในการปกครอง ส่งเสริมการอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นทรงใช้หลักขันติ ธรรมทางศาสนา (religious toleration) ให้ เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา และ เปิดโอกาสให้ปัญญาชนสามารถแสดงความ คิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
โธมัส ฮอบบ์(Thomas Hobbes)
ค.ศ. 1588-1679
หนังสือเรื่อง Leviathan เสนอแนวคิดว่าสังคมสันติสุขต้องมอบอำนาจให้ผู้ปกครองทำหน้าที่ปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ แม้เค้ามีเชื่อเสียงการเขียนหนังสือปรัชญาการเมืองตะวันตกก็จริง แต่ที่จริงแล้วฮอบส์ยังมีผลงานที่เป็นประโยชน์ไว้อีกหลายด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ เรขาคณิตเทววิทยา จริยธรรม รวมทั้งด้านปรัชญาทั่ว ๆ ไปอีกหลายเรื่อง และที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่า รัฐศาสตร์ (political science) นอกจากนี้สิ่งที่ ฮอบบส์เชื่อที่ว่า "มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติมีการร่วมมือกันก็โดยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว " ซึ่งข้อคิดนี้ได้รับการพิสูจน์ในทฤษฎีของ ปรัชญามานุษยวิทยาต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน
จอห์น ล็อค(John Locke)
ค.ศ. 1632-1704
หนังสือเรื่อง Two Treatisesof Governmentเสนอแนวศิตการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย"
ฟแนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" ตีพิมพ์ลงหนังสือของเขา "ศาสตร์นิพนธ์สองบรรพว่าด้วยการปกครอง" (Two Treaties of Government)อีกทั้งแนวคิดของล็อกได้เสนอว่าอำนาจไม่ควรตกอยู่คนเดียว และสามารถตรวจสอบอำนาจของผู้มีอำนาจได้ ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ
มองเคสกิเออ(Montesquieu)
ค.ศ. 1689-1755
หนังสือเรื่องเจตนารมณ์แห่งกฎหมายเสนอแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หลาย
วอลแตร์(Valtaire)
ค.ศ. 1694-1778
หนังสือเรื่องThe PhilosophicalLetters เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการปกครอง เขาเป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรัฐ
อิทธิพลของเขาก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ
ฌอง ฌากส์ รุสโซ(Jean-Jacques Rousseau)
ค.ศ. 1712-1778
หนังสือเรื่องสัญญาประชาคม เป็นการวางรากฐานเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญา
งานเรื่อง วจนิพนธ์ว่าด้วยความไม่เท่าเทียม และ สัญญาประชาคม ของเขาเป็นหลักสำคัญในความคิดการเมืองและสังคมสมัยใหม่
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"
อดัม สมิธ(Adam Smith)
ค.ศ. 1723-1790
หนังสือเรื่องความมั่งคั่งของชาติเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทฤษที่การค้าเสรี นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ สมิธเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า
"ยุคเรืองปัญญาของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment)
ป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะเป็นเจ้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิเสรีนิยมที่ประณามสมาคมอาชีพในยุโรปยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 2244 - พ.ศ. 2343) สมิธเชื่อในสิทธิ์ของบุคคลที่จะสามารถใช้อิทธิพลของตนเองสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตนเองได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องตกเป็นหุ่นเชิดของสมาคมอาชีพหรือของรัฐทฤษฎีของสมิธมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐศาสตร์เดิมของยุโรป ทำให้ยุโรปส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ที่ยอมให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันได้ อดัม สมิธได้รับการยกย่องเป็น " บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ "
คาร์ล มากซ์(Karl Marx)
ค.ศ. 1818-1883
หนังสือเรื่องDas Kapitalและคำประกาศเจตนาคอมบิวนิสต์ โดยเน้นว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน
ทฤษฎีของมาคส์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า “ลัทธิมาคส์” ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง
มาคส์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง]ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมาคส์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมาคส์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง