การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต จากการใช้แรงงานคน สัตว์ และพลังงานธรรมชาติ มาเป็นการผลิตโดยใช้เครื่องจักร และระบบโรงงาน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18-20"เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนธรรมดาส่วนมากจะเริ่มเติบโตอย่างมั่นคง
ซึ่งไม่เคยมีพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน
สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรก
เริ่มที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19 ที่อุตสาหกรรมทอผ้าประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องจักรไอน้ำในอุตสาหกรรม
เรียก"สมัยแห่งพลังงานไอน้ำ"
ในปี ค.ศ. 1733
จอห์น เคย์ (John Kay) ประดิษฐ์ที่กระตุก(Flying Shuttle)เป็นกระสวยบินแบบกี่กระตุก โดยใช้เชือกผูกกระสวยไว้ แล้วให้ช่างทอผ้ากระตุก
เชือกทำให้กระสวยพุ่งไปมา แทนการใช้คนคอยส่งกระสวย เทคนิคการทอผ้าแบบนี้ทำให้การทอผ้าเป็นไปอย่างสะควกและรวคเร็ว
และผลิตผ้ได้หน้ากว้างขึ้น
ในปี ค.ศ. 1764
เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) เครื่องปั่นด้าย Spinnig Jennyเป็นเครื่องปันฝ้ายที่มีประสิทธิภาพดีในปี ค.ส. 1764
โดยมีชื่อเรียกว่า "Spining Jcnny" โดยใช้วงถึง 11 วงปั่นเส้นด้ายพร้อมๆกันโคยใช้มือหมุน ทำให้สามารถปั่นด้ายได้อย่างรวดเร็วและจำนวนมาก
ในปี ค.ศ. 1769
ริชาร์ต อาร์กไรต์ (Richard Arkwright) เครื่องจักรกลที่ใช้ พลังน้ำสำหรับ เครื่องปั่นด้าย (Water Frame) เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนากรอบการปั่นที่เรียกว่ากรอบน้ำหลังจากที่มันถูกปรับให้เข้ากับการใช้พลังงานน้ำ และเขาจดสิทธิบัตรหมุนสางเครื่องมือการแปลงฝ้ายดิบเพื่อ 'ฝ้ายตัก' ก่อนที่จะมีการปั่น เขาเป็นคนแรกที่พัฒนาโรงงานที่มีทั้งการตอกด้วยเครื่องจักรและการปั่นด้าย
ในปี ค.ศ. 1776
เจมส์ วัตต์ (James Watt)
เครื่องจักรไอน้ำ ใช้ในอุตสาหกรรม ทั่วไป อุตสาหกรรม เหล็ก และเหล็กกล้า ส่งผลให้มีการพัฒนา รถไฟ เรือเดินทะเล ปืนใหญ่ และ อาวุธยุทโธปกรณ์
เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ "แรงม้า" เป็นวิธีคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และชื่อของเขาได้รับไปตั้งเป็น หน่วยกำลังไฟฟ้าในระบบหน่วยเอสไอ
ในปี ค.ศ. 1794
อิลิ วิดนีย์ (ELi Whithey) เครื่องแยกเมล็ดฝ้าย(cotton gin) โดยผลงานของเขาสามารถใช้เเยกใยฝ้ายออกจากเมล็ดได้อย่างรวดเร็ว การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ช่วยปฏิวัติอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีการปลูกฝ้ายกันมากขึ้นจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทางภาคใต้ของอเมริกา การเพิ่มผลผลิตฝ้ายทำให้ความต้องการใช้แรงงานทาสผิวดำมีมากขึ้น และสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 1851
อังกฤษ เป็นผู้นำการปฏิวัติ อุตสาหกรรมจัดแสดง นิทรรศการครั้งใหญ่ (Great Exhibition) เป็นงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และอุตสาหกรรมจากทั่วโลก นิทรรศการนี้จัดในปี พ.ศ. 2394 ในสมัยสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย โดยเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีพระสวามีของพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นต้นคิดงานนิทรรศการนี้ขึ้นมา นิทรรศการ จัดขึ้นในคริสตัลพาเลซ ที่ไฮด์ปาร์ค ลอนดอน การก่อสร้างใช้เวลา 15 เดือน งานในครั้งนี้ทำให้ประเทศอังกฤษได้รับงบประมาณถึง 186,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และมีผู้เข้าชมไม่ต่ำกว่าหกล้านคน นิทรรศการ จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ในปี ค.ศ. 1804
รีชาร์ด เทรวีพิก (Richard Trevitick) ใช้พลังงานไอน้ำ กับรถบรรทุกผลงานที่สำคัญที่สุดของเขาคือการพัฒนาเครื่องยนต์ไอน้ำแรงดันสูงเครื่องแรกและหัวรถจักรไอน้ำที่ใช้รางรถไฟรุ่นแรก การเดินทางด้วยรถไฟแบบลากหัวรถจักรครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1804เมื่อรถจักรไอน้ำนิรนามของ Trevithick ลากรถไฟไปตามทางเชื่อมของโรงงานเหล็ก PenydarrenในเมืองMerthyr Tydfilประเทศเวลส์
ในปี ค.ศ. 1829
จอร์จ สติเฟนสัน (George Stephenson) หัวรถจักรไอน้ำ Rocket มาใช้กับรถไฟ"รถไฟคันแรกของโลก” เป็นรถจักรไอน้ำที่มีชื่อว่า Rocket ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีที่แล้วในประเทศอังกฤษโดย จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการรถไฟ
ในปี ค.ศ. 1806
โรเบิร์ต ฟุลตัน (Robert Fulton)เรือได้รับการตั้งชื่อว่า "เคลอร์มองท์" ได้แล่นจากนครนิวยอร์กไปยังนครแอลบานีตามแม่น้ำฮัดสันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2350 ใช้เวลา 20 ชั่วโมงสำหรับการเดินเรือเชิงพาณิชย์ของเรือกลไฟครั้งแรกของโลก มีผู้เรียกเรือกลไฟนี้ว่า "สัตว์ประหลาดของฟุลตัน" นอกจากชื่อ "เคลอร์มองท์" คนทั่วไปยังเรียกเรือของฟุลตันว่า "เรือจักรแม่น้ำเหนือ" อีกชื่อหนึ่งด้วย
ในปี ค.ศ. 1840
แชมมวล คูนาร์ด (Semuel Cunard) เรือกลไฟข้าม มหาสมุทรแอดแลนติกเปิดเดินเรือกลไฟแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
ได้ภายใน 14 วัน และมีการปรับปรุงเรือกลไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานจากถ่านหิน และไอน้ำเป็นก๊าชน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้า และทำเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า
เรียกว่า “ ยุคเหล็กกล้า ” (Age of Steel) เริ่มในศตวรรษที่ 19 -20
ในปี ค.ศ.1885
คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) และ กอดล์ลีบ เคมเลอร์ (Gottlieb Daimler) ประดิษฐ์รถยนต์ ใช้น้ำมันเบนซินเขาคิดออกแบบ เกวียนไร้ม้า (horseless carriage) ขึ้นมาซึ่งเป็นความคิดที่คิดไว้นานแล้ว ในปีค.ศ. 1885 เขาสร้างยานยนต์สามล้อซึ่งเป็นยานยนต์คันแรกชื่อว่าเบ็นทซ์พาเท็นท์-โมทอร์วาเกิน (Benz Patent-Motorwagen) ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นรถยนต์คันแรกของโลก
ในปี ค.ศ.1832
แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) นักประดิษฐ์ละจิตรกรผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ในวันนี้เขาได้ทดลองส่งโทรเลขฉบับแรกจากบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ไปยังกรุงวอร์ชิงตัน ดี.ซี. ได้สำเร็จ โดยทดลองใช้เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าส่งข่าวสารผ่านรหัสที่ใช้แทนตัวหนังสือ ซึ่งเขาได้ทำการคิดค้นขึ้นหรือที่เรียกว่า “รหัสมอร์ส” (Morse Code) ซึ่งกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2380 การส่งโทรเลขครั้งนี้เป็นการส่งผ่านสายโทรเลขด้วยระยะทางประมาณ 61 กิโลเมตร โดยโทรเลขฉบับแรกปรากฏข้อความเพียงสั้นๆว่า "What hath God wrought"
ในปี ค.ศ.1876
อเล็กชานเดอร์ เกรแอม เบลล์ (Alexander Graham Bell) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เบลล์ เทเลโฟน (Bell Telephone company) สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างมากของเบลล์และเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่างมาก ได้แก่ โทรศัพท์ ซึ่งได้คิดค้นอย่างอิสระได้พร้อมๆ กับ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นอกจากนี้ เบลล์ยังเป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากในงานวิจัยทางด้านอากาศยาน และ ไฮโดรฟอยล์
ในปี ค.ศ.1879
ธอมัส แอลวา เอดีสัน (Thomas Alva Edison) หลอดไฟฟ้า,เครื่องเล่น,จานเสียง,กล้องถ่ายภาพยนตร์เป็นสิ่งที่นักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน