ที่มา"วันสงกรานต์ "
มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปรากฎคำว่า “ พระราชพิธีเกลิงศก และ พระราชพิธีลดแจตร ”
ตามที่รัชกาลที่ ๕ เรียกว่า พระราชพิธีรดน้ำดือน ๕ (ตามปฏิทินจันทรคติ) หรือช่วงเมษายน
นับเป็นเดือนขึ้นปีใหม่ที่พระมหากษัตริย์ต้องเสด็จออกทอดพระเนตรคล้ายการตรวจกำลังพลสวนสนาม
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่แผ่นดิน
วันที่ 13 เมษายน
คำเรียกวันของสี่ภาค
- ภาคกลาง เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์”
- ภาคเหนือ เรียกว่า “วันสังขารล่อง” หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี
- ภาคอีสาน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ล่อง” หรือ “มื้อสงกรานต์พ่าย”
- ภาคใต้ เรียกว่า “วันเจ้าเมืองเก่า” หรือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า เพราะมีความเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์
วันที่ 14 เมษายน
คำเรียกวันของสี่ภาค
- ภาคกลาง เรียกว่า “วันเนา”
- ภาคเหนือ เรียกว่า “วันเนา” หรือ “วันเน่า” ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ห้ามผู้ใดทะเลาะเบาะแว้งกัน พิธีกรรมของวันเนานี้ จะตระเตรียมสิ่งของและอาหารเพื่อนำไปทำบุญในวันพญาวัน ช่วงบ่ายจะขนทรายเข้าวัดและตัดกระดาษเป็นธงสีต่าง ๆ เรียกว่า “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทราย
- ภาคอีสาน เรียกว่า “วันเนา” หรือ “มื้อเนา” ชาวบ้านจะแต่งกายสวยงาม นำอาหารไปตักบาตรที่วัด ขอพรจากพระภิกษุผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระพุทธรูปรดไปตามรางริน หนุ่มสาวมักรวมกลุ่มไปรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ มีการจัดทำบายศรีสู่ขวัญผู้ใหญ่ หลังจากนั้นจึงเล่นรดน้ำกันเอง และช่วงกลางคืนมีการร่วมกันสวดมนต์เย็นและฟังธรรม
- ภาคใต้ เรียกว่า “วันว่าง” คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง โดยทุกคนจะไปทำบุญที่วัด
วันที่ 15 เมษายน
คำเรียกวันของสี่ภาค
- ภาคกลาง เรียกว่า “วันเถลิงศก” คือ “วันเริ่มจุลศักราชใหม่”
- ภาคเหนือ เรียกว่า “วันพญาวัน” คือ “วันเปลี่ยนศกใหม่”มีการทำบุญตักบาตร ทำทานขันข้าว (ตาน-ขัน-เข้า) เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการไปคารวะผู้ใหญ่ เรียกว่า “ดำหัว”
- ภาคอีสาน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ขึ้น” นิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่อง 7 – 15 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์คนที่ไปทำงานยังต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการรวมญาติและทำบุญอัฐิบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า “สักอนิจจา”
- ภาคใต้ เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิม
การก่อเจดีย์ทราย
คนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัด
เพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์
และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัด
ประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
น้ำ
เป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิต จึงนำมาใช้ เพื่อแสดงออกถึงความปรารถนา
ดีต่อกัน ได้ชำระล้างสิ่งไม่ดี เพื่อที่จะเริ่มปีใหม่ อย่างสะอาดผ่องแผ้ว
มีความเชื่อว่าเป็นการชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีที่ผ่านเข้ามาออกไปจากชีวิต
รวมถึงยังเชื่อว่าเป็นการช่วยชำระล้างจิตใจ และสิ่งที่เป็นภัยอันตรายต่างๆ
ให้สิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นไหลไปกับน้ำนั่นเอง
วันผู้สูงอายุ
ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เริ่มต้นครั้งแรก ในปี 2526 ในวันพื้นปีใหม่ไทยเ
ราจะจัดกิจกรรม “รดน้ำดำหัว” เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ รัฐบาลจึงเลือกวันนี้
เพื่อส่งสริมคุณภาพชีวิต และเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ
วันครอบครัว
ตรงกับ 14 เมษายน ของทุกปี เริ่มต้นครั้งแรก ในปี 2533
เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวได้กลับมา พบปะกันแสดงความความรัก
และรดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่