พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 ) โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลเมื่อ พ.ศ. 2455 และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2456 เพื่อให้คนไทยทุกคนต้องมีชื่อและนามสกุลเพื่อระบุตัวตน เมื่อออกเป็นกฎหมายแล้ว กำหนดให้ภายใน 6 เดือน ผู้เป็นหัวหน้าครัวเรือนทุกครัวเรือนต้องเลือก ชื่อ-สกุล แล้วไปจดทะเบียนชื่อสกุลนั้นที่ที่ว่าการอำเภอในแต่ละท้องที่
มีหลักเกณฑ์ คือ ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยของกษัตริย์ หรือ พระนามาภิไธยของพระราชินี ต้องไม่พ้องกับพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ทรงอิสริยยศ ฐานันดร ไม่ให้เป็นชื่อสกุลที่เป็นตำแหน่งยศ บรรดาศักดิ์ ไม่เป็นชื่อสกุลที่หยาบคาย
ไม่ให้เป็นชื่อสกุลซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทาน ไม่ให้เป็นชื่อสกุลที่เขียนเกินกว่าสิบตัวอักษรและไม่ให้ซ้ำกับชื่อสกุลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในแขวงอำเภอท้องที่เดียวกันในตอนนั้นชาวบ้านหลายกลุ่มนึกไม่ออก ข้าราชการในแต่ละท้องที่จึงมีหน้าที่คิดชื่อสกุล และพิมพ์ติดไว้ให้ประชาชนเลือก
นามสกุลพระราชทาน 5 สกุลแรก ได้แก่
รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุลไว้ทั้งสิ้น 6464 นามสกุล โดยพิจารณาจากบรรพบุรุษผู้เป็นต้นสกุล บางนามสกุลนั้นก็พระราชทานตามอาชีพของผู้เป็นต้นตระกูล เช่น