ความสัมพันธ์ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น กับ ต่างชาติ

12 ตุลาคม 2565 เวลา 16:21 / ผู้เข้าชม : 11,507 ประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น กับ ต่างชาติ

 ลักษณะความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน

รัฐเพื่อนบ้าน หมายถึง รัฐที่ตั้งอยู่ติดกับดินแดงราชอาณาจักร ประกอบด้วย ล้านนา พม่า มอญ ล้านช้าง เขมร ญวน และมลายู

จุดมุ่งหมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สรุปได้ดังนี้

  1. เพื่อรักษาเอกราชให้พ้นจากภัยการคุกคามของพม่า
  2. เพื่อรักษาความมั่นคงของราชธานี
  3. เพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ความเจริญรุ่งเรือง
  4. เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

พม่า

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้ง สงครามครั้งสำคัญคือ “สงคราม 9 ทัพ” ปี พ.ศ. 2528 ซึ่งพระเจ้าปะดุงต้องการแผ่อานาจครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ และ เป็นการทำลายอาณาจักรไทยไม่ให้เติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่แบบกรุงศรีอยุธยาได้อีก

พระเจ้าปะดุงจัดทัพมาถึง 9 ทัพ และมีความพร้อมเต็มที่ ส่วนใหญ่แม้จะมีกำลังน้อยกว่าพม่า แต่อาศัยที่มีผู้นำดี มีความสามารถ ทหารจึงมีกำลังใจเข้มแข็ง มีความสามัคคีพร้อมเพรียง และประสานงานกันอย่างดี กองทัพพม่าจึงพ่ายแพ้กลับไป

สงครามไทยกับพม่าสิ้นสุดกันที่รัชกาลที่ 3 เนื่องจาก พม่ามีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดน กับเขตแดนอินเดียของอังกฤษ และพอต้นรัชกาลที่ 4 พม่าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

ญวน

ความขัดแย้งของไทยกับญวน ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทยในคาบสมุทรอินโดจีนคือญวณต้องการเข้าไปมีอิธิพลในเขมรและลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย สงครามระหว่างญวณกับไทยยืดเยื้อกันมานานถึง 24 ปีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ญวนไปมีปัญหาขัดแย้งกับฝรั่งเศส ญวนจึงยอมสงบศึกกับไทย เพื่อเตรียมกำลังสู้รบกับฝรั่งเศสทางเดียว

ล้านช้าง

            เป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความขัดแย้งระหว่างไทยกับล้านช้างเกิดขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดข่าวลือไปถึงเวียงจันทร์ว่า ไทยขัดใจกับอังกฤษ เจ้าอนุวงศ์เห็นเป็นโอกาศจึงได้ยกทัพมาตีเอาคืนดินแดนไทย

            ในขณะที่เจ้าอนุวงษ์ถึงเมืองนครราชสีมานั้นได้เกิดวีรสตรีขึ้น คือคุณหญิงโมภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา ได้ร่วมกับราษฏรที่ถูกกวาดต้อนมา ได้ออกอุบายเลี้ยงอาหารแก่นายทหาร ไพร่พลล้านช้าง พอเมาแล้วจึงจู่โจมฆ่าฟันจนทหารลาวแตกพ่ายไป เมื่อเสร็จศึกแล้ว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าให้เป็นเท้าสุนารี

 

ล้านนา

            ไทยได้คุ้มครองล้านนาให้ปลอดภัยจากพม่า รวมทั้งยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าผู้ครองล้านนาเสมือนญาติตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 สถาปนาพระยากาวิละซึ่งรบชนะกองทัพพม่าขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1

 

มอญ

            ไทยให้ความคุ้มครอง ความปลอดภัย และสร้างความเป็นมิตรไมตรีกับหัวเมืองมอญ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไทยจัดทัพไปช่วยหัวเมืองมอญให้ปลอดภัยจากพม่า ทั้งนี้ยังให้ความช่วยเหลือครอบครัวมอญที่หลบหนีสงครามกับพม่าให้มีที่พักอาศัย เป็นต้น

 

เขมร

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 กษัตริย์เขมรไม่ได้ไปฝักใฝ่กับญวณ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวณจึงเสื่อมตามลำดับ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ญวณมีนโยบายปกครองโดยเขมรโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวน จงถึงกระทั่งทำสงครามกันเป็นเวลานานถึง 14 ปี ผลคือผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายสามารถตกลงยุติสงครามและร่วมกันปกครองเขมร

มลายู

            หัวเมืองมลายูได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ต่างก็เคยเป็นเอกราชของไทยมาตั้งแต่อยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 แล้วหัวเมืองเหล่านี้พากันแข็งเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงยกทัพไปปราบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้วได้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีใน พ.ศ. 2328 ทำให้หัวเมืองมลายูที่เหลือ คือ ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู พากันเกรงกลัวจึงส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

จีน

            มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ เพื่อ ผลประโยชน์ทางการค้า การค้าขายกับชาวจีมีลักษณะพิเศษ ที่เรียกว่า “การค้าแบบรัฐบรรณาการ” โดยแต่งตั้งทูตพร้อมนำเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน ราชสำนักจีนถือว่าเข้ามาแบบอ่อนน้อมถ่อมตน และให้การรับรองกษัตริย์จากรัฐนั้นๆ และอนุญาตให้ซื้อขายกับจีน

ชาติตะวันตก

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีการติดต่อทางการทูตกับประเทศทางตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจนั้นไทยยินดีให้โปรตุเกส อังกฤษ​ และอเมริกาส่งพ่อค้าเข้ามาค้าขายกับไทยได้แต่ขณเดียวกันก็เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้พ้นจากการครอบครองของชาติตะวันตก

ชาติตะวันตก

โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ส่วนอังกฤษได้เริ่มติดต่อค้าขายกับไทยใน พ.ศ. 2364 (สมัยรัชการที่ 2) โดยอังกฤษแต่งตั้งให้จอห์น ครอเฟิตเป็นทูตเข้ามาเจรจาทางพระราชไมตรี และเจรจาค้าขายกับไทย โดยอังกฤษเจรจาขอให้คนในบังคับของอังกฤษติดต่อค้าขายกับคนไทยได้โดยสะดวก แต่การเจรจาล้มเหลว ต่อมาอังกฤษส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีเป็นทูตเข้ามาเจรจากับคนไทย พ.ศ. 2368 ตรงกับรัชกาลที่ 3 และได้มีการทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี และสัญญาทางการค้า ในวันที่ 20 มิถนายน พ.ศ. 2369 เรียกว่า “สนธิสัญญาเบอร์นี”

 

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021