การนับเวลา วิธีการนับวันและเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นหลักแบ่งเป็น
การนับเวลาในระบบสุริยคติ คือ วิธีการนับวันและเดือนโดยถือเอาพระอาทิตย์เป็นหลัก
วันทางสุรินคติ ได้แก่ วันที่ 1,2,3,…เรื่อยไปในเดือนหนึ่งๆ มีไม่เกินวันที่ 31
ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ ตามปกติจะมี 28 วัน รวมทั้งปีได้ 365 วัน เรียกว่า “ปีปกติสุรทิน”
1 ปี คือ ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ประมาณ 365 ¼ วัน เวลาในปีปกติสุรทินขนาดไป ¼ วัน เศษ ¼ วันนี้เมื่อครบ 4 ปี จะได้เพิ่มอีก 1 วัน เพิ่มใส่ไปในเดือนกุมภาพันธ์เป็น 29 วันในทุกๆ 4 ปี เรียกปีนั้นว่า “ปีอธิกสุรทิน” ซึ่งจะมี 366 วัน
การนับเวลาแบบ “จันทรคติ” คือ การนับวันและเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เป็นหลัก
เริ่มต้นเดือนในวันขึ้น 1 ค่ำ แต่วันสิ้นเดือนจะแตกต่างกัน 2 แบบ
เดือนจันทรคติใน 1 ปี รวมกันได้ 354 วัน น้อยกว่าจำนวนวันในปีสุริยคติ ถึง 11 วันเศษ เพื่อไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำกันจึงแก้ไขด้วยการปรับให้บางปีมี 13 เดือนโดยเพิ่มเดือน 8 หลังต่อไว้จากเดือน 8 แรก เรียกปีที่มีเดือน 8 สองหนนี้ว่า ปีอธิกมาส หมายถึง ปีที่มีเดือนเพิ่ม
บางปียังเพิ่มวันอีก 1 วันในเดือน 7 ทำให้เดือน 7 ปีนั้นมีถึงวันแรม 15 ค่ำเรียกว่า ปีอธิกวาร หมายถึงปีที่มีวันเพิ่ม
สุริยคติ
จันทรคติ