มารู้จัก...รัฐไทยในดินแดนไทย กันเถอะ

26 กันยายน 2565 เวลา 12:11 / ผู้เข้าชม : 5,607 ประวัติศาสตร์
มารู้จัก...รัฐไทยในดินแดนไทย กันเถอะ

รัฐไทยในดินแดนไทย

  • แคว้นโยนกเชียงแสน
  • แคว้นหิรัญนครเงินยาง
  • แคว้นพะเยา
  • อาณาจักรล้านนา
  • อาณาสุโขทัย
  • อาณาจักรอยุธยา

แคว้นโยนกเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16)

  • เดิมชื่อ : นาคพันธ์สิงหนวัตินคร ต่อมาเปลี่ยนเป็นโยนกนครธานีศรีช้างแส่นและจึงเป็นชื่อ แคว้นโยนกเชียงแสน
  • ตั้งเมืองที่ : เชียงราย ริมแม่น้ำกก
  • การปกครอง : โดยกษัตริย์ ซึ่งองค์แรกคือ พระเจ้าสิงหนวัติมีกษัตริย์ปกครองถึง 45 พระองค์
  • การรุกราน : ชนพื้นกล๋อมดำ

การสิ้นสุด

ถูกคุกคามจากอาณาจักรพุกาม และภัยธรรมชาติ เมืองจึงถล่มจมลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พระเจ้าไชยสิริอพยพคนไปสร้างเมืองใหม่คือ ไตรตรึงส์

แคว้นหิรัญนครเงินยาง (ประมาณพุทธศตวรรษ 16 - พ.ศ 1899)

  • ชื่อแคว้น หิรัญนครเงินยาง หรือ ชยวรนคร,เมืองเชียงลาว , เหรัญญนครเงินยางเชียงแสน, นครยางคปุระ, เมืองท่าทรายเงินยาง  เป็นอาณาจักรหนึ่งในบริเวณที่เป็น ประเทศไทยและประเทศลาวปัจจุบัน
  • ที่ตั้ง ปัจจุบันมักเชื่อกันว่าเมือง เงินยางคือเมืองเดียวกัน กับเมืองเชียงแสน
  • เกิดเมื่อ ปูลาวจง หัวหน้ากลุ่มคนบนดอยตุง นำบริวารมาสร้างเมืองที่แม่น้ำกก ก่อตั้งราชวงศ์ลวจักราช
  • กษัตริย์ : 25 พระองค์
  • การขยายอำนาจ : ส่งลูกชายไปสร้างใหม่ และ ให้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดารัฐอื่น เป็นการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ

การสิ้นสุด

พระยามังรายรวบรวมเมืองใกล้เคียง (อ้างสิทธิ์สายเลือด) สร้างเป็นเชียงราย (ราชธานีใหม่) ขยายอำนาจถึงสร้างราชธานีใหม่ในลุ่มน้ำปิง ยึดแคว้นหริภุญชัย (ส่งไส้ศึกไปอยู่) ไปสร้างเมืองเวียงกุมกาม (อยู่แถวเชียงใหม่) แล้วก็สร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เกิดอาณาจักรล้านนา แคว้นหิรัญนครเงินยางกลายเป็นส่วนหนึงของล้านนาไป

แคว้นพะเยา (พ.ศ.1640-1881)

  • ศูนย์กลางอยู่ที่ : เมืองพะเยา (เชิงดอยแม่น้ำอิง)
  • เชื้อสาย : ขุนจอมธรรมเป็นเชื้อสายของปู่ลาวจง
  • ความสัมพันธ์ : พระยางำเมือง เรียนวิชาสำนักสุกทันตฤาษีกรุงละโว้ร่วมสำนักกับพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัย และ พระยามังราย แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยาง
  • การรุกราน : พระยามังรายจะยึดพะเยา พระยางำเมืองเจรจา ยอมยกเขตแดน 500 หลังคาเรือนให้ต่อมาสหายทั้ง 3 พระองค์ทำสัญญาเป็นมิตรกันเมื่อพระยางำเมืองสวรรคตความสัมพันธ์ก็เสื่อมลง

การสิ้นสุด

หลังสิ้นเอกราช เมืองพะเยาปรากฏความสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของล้านนาในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เพราะได้ส่งขุนนางที่มีฐานะเป็นอา ช่วยเหลือให้พระองค์ครองราชย์มาปกครองพะเยา และตอบแทนความชอบด้วยการกำหนดตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาเป็น "เจ้าสี่หมื่น" และในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ทรงให้ความชอบแก่พระยายุทธิษฐิระ อดีตเจ้าเมืองสองแควผู้มาสวามิภักดิ์ให้การยกให้ครองพะเยา แต่กาลต่อมาเมือล้านนาได้ยึดครองนครรัฐแพร่และน่านแล้ว เมืองพะเยาจึงถูกลดบทบาทลง

อาณาจักรล้านนา

ยุคต้น 

  • พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ (ราชธานี) ลำพูนเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา และเชียงรายเป็นเมืองอุปราช
  • ศาสนา : วัดเจดีย์เหลี่ยม(เวียงพุกาม) สร้างเจดีย์กู่คำหลวง พระอารามจัดกานโดม (วัดช้างคำ)
  • การปกครอง : ทรงตรากฎหมายที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์”
  • สิ้นพระชมน์ : พ.ศ. 1854

 

ยุคกลาง 

  • พญากือนาหรือพญาธรรมิกราช (กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย) เข้าสู่ยุคเจริญรุ่งเรือง
  • ล้านนาเจริญสูงสุด สมัยพระเจ้าติโลกราช (กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย) ทรงขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำสงครามต่อเนื่องกับอยุธยาถึง 14 ปี
  • ศาสนา : ได้สร้างวัดป่าแดง และวัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) และจัดสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดนี้ใน พ.ศ. 2020 และอัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาประดิษฐาน ที่เชียงใหม่มีการเขียนคัมภีร์ทางศาสนา รวมถึงตำนาน และ ชาดกแบบลังกา

ยุคเสื่อม 

  • ในสมัยพระยาเกสครองราชย์จนถึงช่วง พ.ศ. 2102 (กษัตริย์องค์ที่ 12) เกิดความเสื่อมถอยและการตกเป็นประเทศราชของพม่า เหตุเพราะปัจจัยภายในความสัมพันธ์ทางเครือญาติลดความสำคัญลง ขุนนางมีอำนาจ กษัตริย์อ่อนแอ เศรษกิจตกต่ำ และการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอู

การสิ้นสุด

รวมประเทศ : พ.ศ. 2317 สมัยธนบุรี ผู้นำล้านนาสวามิภักดิ์ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ล้านนาจึงกลายเป็นประเทศราชของไทยจนกระทั่งถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยใน ค.ศ.2442 (รัชกาลที่ 5)

อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ.1792-2006

ที่ตั้ง 

  • ตั้งอยู่ที่ราบภาคกลางตอนบน บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนและลำน้ำสาขา

การปกครอง

เนื่องจากเมืองที่พ่อขุนศรีนาวได้ปกครองถูกขอมสบาดโขลญ ลำพงยึดไว้ เจ้าขุนผาเมือง(ลูกชาย) จึงร่วมกันกับ พ่อขุนบางกลางหาวยึดคืนมา และพ่อขุนบางกลางหาวได้รับ การอภิเษกปกครองสุโขทัยโดยมีพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิพย์"

ปัจจัยส่งเสริมสุโขทัย

ปัจจัยภายใน

  • ทำเลที่ตั้ง : เป็นชุมชนทางการค้าขาย และเป็นจุดที่มีอารยธรรมพม่า มอญ และเขมรมาบรรจบกัน
  • ความสามารถของผู้นำ
  • ความสามัคคีของชาวไทย

 ปัจจัยภายนอก

  • การเสื่อมอำนาจของเขมร
  • การสร้างความสัมพันธ์กับจีนในรูปแบบบรรณาการ

เศรษฐกิจ

  • เกษตร มีการสร้างนบคันกักเก็บน้ำ ฝาย คูคลอง เชื่อว่าเลี้ยงตนเองได้
  • หัตถกรรม มีการทำเครื่องสังคโลก
  • การค้า แบ่งเป็นการค้าระหว่างหัวเมือง กับ การค้าระหว่างประเทศ เชื่อว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาก

สังคม

  • มีรากฐานจากเผ่าหรือชาวบ้าน
  • นับถือพระพุทธศาสนา
  • ประชาชนไม่มาก ติดต่อกันได้สะดวก ผู้นำดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ซับซ้อน

การขยายอาณาเขต

  • สมัยพ่อขุนรามคำแหง
  • สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไทย
  • ในสมัยสุโขทัย หัวเมืองต่างๆรวมกันอย่างหลวมๆความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับกษัตริย์แต่ละพระองค์นอกจากนี้ยังไม่มีเสถียรภาพในการปกครอง เปิดโอกาศให้แทรกแซงง่าย

ชนชั้น

  • กษัตริย์
  • เชื้อพระวงศ์
  • ขุนนาง
  • ไพร่ (ประชาชนทั่วไป)
  • ทาส

การสิ้นสุด

เนื่องจากการแทรกแทรงทางการเมืองของอาณาจักรอยุธยาทำให้ถูกผนวกรวมกับอยุธยา

ปัจจัยภายใน

  • การแก่งแย่งอำนาจของผู้นำ
  • ความไม่เข้าแข็งของผู้นำ
  • การถูกตัดเส้นทางการค้า

ปัจจัยภายนอก

  •  การขยายอำนาจไปทางเหนือโดยกำลังทหาร การแทรกแทรงภายใน การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทำให้อ่อนแอ

 

อาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) ยาวนาน 417 ปี

เศรษฐกิจ

  • เกษตร ส่วนใหญ่ปลูกข้าว รัฐมีรายได้จากอากรนา คือ ชาวบ้านจ่ายข้าวเปลือกให้รัฐเรียกว่า หางข้าว สมัยพระนารายณ์ทรงเปลี่ยนการเก็บข้าวมาเก็บเงินเรียกว่า “ไร่ละสลึง”
  • การค้า เนื่องจากเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ จึงค้าขายกันอย่างจำกัดกับต่างประเทศ รัฐใช้วิธีการผูกขาดการค้าโดยผ่านพระคลังสินค้า ต้องขายผลผลิตให้รัฐและรัฐจะเป็นผู้ขายสินค้าให้ต่างประเทศ
  • การเก็บภาษีอากร ไพร่ หรือ ประชาชน ต้องเสียภาษีให้พระมหากษัตริย์ รัฐมีรายได้จากจกอบ ส่วย ฤชา ภาษีสินค้าเข้าและภาษีขาออกจากการค้าต่างประเทศ

ลักษณะสังคม

ระบบไพร่

  • การควบคุมแรงงานตามระดับชั้น ให้มูลนายควบคุมไพร่ หากเป็นไพร่ที่ไม่มีสังกัดจะถูกส่งเข้าวัง (เป็นคนของหลวง) สังกัดกรมกองราชธานีขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์
  • การปฏิรูปสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้เกิดไพร่หลวง และไพร่ที่มหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้ขุนนาง เรียกว่า “ไพร่สม”

ระบบศักดินา

เป็นการจำแนกฐานะทางสังคม เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบสิทธิ อภิสิทธิ์ต่างๆแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้น คือ

ชนชั้นปกครอง

  • กษัตริย์        
  • ราชวงศ์ หรือ เจ้านาย
  • ขุนนาง หรือ ข้าราชการ
  • พระสงฆ์

ชนชั้นที่ถูกปกครอง

  •  ไพร่ หรือ สามัญชน
  • ข้าหรือทาส

 

อาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) ยาวนาน 417 ปี

ปัจจัยภายใน

  • กรุงศรีอยุธยามรชัยภูมิเหมาะสม คือ มีแม่น้ำล้อมลอบ
  • มีดินดีและท่าน้ำอุดมสมบูรณ์
  • ตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง สามารถคุมทางคมนาคมหรือการค้าและเส้นทางยุทธศาสตร์เมืองอื่นได้

 ปัจจัยภายนอก

  • ช่วงเวลานั้นเขมรหมดอำนาจ ไม่สามารถต้านทานทัพไทยได้
  • การเมืองปล่อยเมืองลูกหลวงปกครองตนเอง
  • เสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 ประกาศอิสรภาพใน พ.ศ. 2127 เสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2310
  • การเมืองเป็นแบบให้อำนาจแก่ขุนนางเท่าเทียมกับเจ้านายจนบางครั้งเมื่อพระมหากษัตริย์สิ้นพระชมน์ลงเกิดการแย่งชิงบรรลังก์ขึ้น ผู้ชนะจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ และได้กำจัดผู้แพ้เช่นนี้จนสิ้นรัชสมัยอยุธยา

การสิ้นสุด 

ความเสื่อมอำนาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอำนาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรม วงศานุวงศ์ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ  กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน และ ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร เมื่อพม่า ยกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310 และกรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจ โดยกองทัพพม่าทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทำศึกระยะยาวนานนับปี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิด ขาดแคลนเสบียงอาหารอันนำไปสู่ความอ่อนแอต่อกำลังทัพและผู้คนของไทย

Related content

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021