มารู้จัก...รัตนโกสินทร์ตอนต้น กันเถอะ

8 กันยายน 2565 เวลา 11:30 / ผู้เข้าชม : 4,615 ประวัติศาสตร์
มารู้จัก...รัตนโกสินทร์ตอนต้น กันเถอะ

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี

  • ที่ตั้งกรุงธนบุรีไม่เหมาะสม เพราะอยู่ในท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอ
  • บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ ไม่สะดวกต่อการขยายพระราชวังให้กว้างออกไป
  • ฝั่งกรุงเทพ ฯ มีชัยภูมิเหมาะเพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันออกและด้านใต้ประกอบกับพื้นที่นอกคูเมืองเดิมทั้งด้านตะวันตก และด้านใต้ ประกอบกับพื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มเกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกยกทัพมายาก

ปัจจัยที่ส่งเสริมความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง

  • เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมีเส้นทางออกสู่ทะเล
  •  มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้มีฝนชุก
  • มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านออกสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย
  • พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์
  • เป็นศูนย์รวมของการขยายตัวทางด้านวัฒนธรรม

การพัฒนาการเมืองการปกครอง

  • พระมหากษัตริย์
  • กรมมหาดไทย
  • กรมกลาโหม
  • กรมเมือง
  • กรมวัง
  • กรมท่า
  • กรมนา

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง

กรมมหาดไทย

  • สมุหนายก (มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรีบดินทร์เดชานุชิต รัตนาพิพิธ)
  • ตราประจำตำแหน่ง (ตราพระราชสีห์)
  • หน้าที่ : มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองทางเหนือทั้งทางทหาร และพลเรือน

กรมกลาโหม

  • สมุหพระกลาโหม (มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา)
  •  ตราประจำตำแหน่ง (ตราพระคชสีห์)
  • หน้าที่ : มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองทางใต้ ทั้งทางทหาร และพลเรือน

กรมเมือง

  • เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช
  • ตราประจำตำแหน่ง : ตราพระยมทรงสิงห์
  • หน้าที่ : ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร

กรมวัง

  • เสนาบดี คือ พระยาธรรมา 
  • ตราประจำตำแหน่ง : ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค)
  • หน้าที่ : มีหน้าที่ดูแลพระราชวังตั้งศาลชำระความ

กรมท่า

  • ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดี คือ พระยาราชภักดี
  • ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดี คือ พระยาศรีพิภัฒน์
  • ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดี คือ พระยาคลัง
  • ตราประจำตำแหน่ง : ตราบัวแก้ว

กรมนา

  • ตำแหน่งเสนาบดี คือ พระยาพลเทพ
  • ตราประจำตำแหน่ง : ตราพระพิรุณทรงนาค
  • หน้าที่ : มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนหัวเมือง

  • หัวเมืองชั้นใน
  • หัวเมืองชั้นนอก
  • หัวเมืองประเทศราช

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนท้องที่

จะประกอบด้วย หมู่บ้านหรือบ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีผู้ใหญ่บ้านซึ่งเจ้าเมืองแต่งตั้งเป็นหัวหน้า หลายหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบล แต่ละตำบลจะมีกำนันซึ่งเจ้าเมืองแต่งตั้งเป็นหัวหน้า หลายตำบลรวมเป็นแขวง มีเจ้าแขวงเป็นหัวหน้า และหลายแขวงรวมเป็นเมือง มีเจ้าเมืองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในเมืองนั้นๆ

การค้าภายในประเทศ

  • ลักษณะเศรษฐกิจเป็นแบบยังชีพโดยผลิตบริโภคในครัวเรือน
  • ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  • หากสินค้าเหลือจึงนำไปเสียภาษีอากรให้แก่ทางราชการ
  • ผลิตสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนในชุมชน

การค้ากับต่างประเทศ

  • อยู่ภายใต้การควบคุมของพระคลังสินค้าที่ผูกขาดกับต่างประเทศ
  • สมัยรัชกาลที่ 3 มีการทำสนธิสัญญาฉบับแรกกับอังกฤษ คือ สนธิสัญญาเบอร์นีย
  • สินค้าส่งออกของไทย เช่น ข้าว น้ำตาล พริกไทยเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติจำนวนมาก

สินค้าส่งออก

  • ข้าว
  • น้ำตาล
  • งาช้าง
  • รังนก
  • พริกไทย
  • กระวาน

 

สินค้าส่งออก

  • ไม้สัก
  • ไม้ฝาง
  • ทองคำ
  • ทองแดง
  • เหล็ก
  • ดีบุก

ศักดินาต่างๆในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  • พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องให้เหมือนเป็นสมมุติเทพ และทรงเป็นธรรมราชา
  • พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์ มีศักดินาแตกต่างกันไปตามฐานะ
  • ขุนนาง เป็นบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีทั้ง ศักดินา ยศ ราชทินนาม และ ตำแหน่ง 
  • ไพร่ ราษฏรที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานใก้กับทางราชการทั้งในยามปรกติ และยามสงคราม และต้องสังกัดมูลนาย
  • ทาส บุคคลที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตัวเอง ต้องตกเป็นทาสของนายจนกว่าจะได้ไถ่ตัว
  • พระภิกษุสงฆ์ เป็นบุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับการยกย่องและศรัทธาจากทุกชนชั้น
Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021