บุพเพสันนิวาส เป็นเนื้อหาภาพยนตร์เป็นช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีตัวละครที่ร่วมอยู่ในฉากขอเรื่อง เพราะเป็นตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมีทั้งชาวต่างชาติ ที่เข้ามามีบทบาทในสังคม มีทั้งผู้เผยแพร่ศาสนา ทั้งมีบทบาทในแวดวงราชการ และราชสำนัก
โรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายสกอตต์ ที่คนไทยนิยมเรียกว่า “นายหันแตร” นั้นเป็นเจ้าของโรงสินค้าอังกฤษ (The British Factory) หรือที่คนไทยเรียกว่า ห้างหันแตร นับได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในเมืองไทย โดยห้างของเขามักสินค้าที่คนไทยไม่เคยเห็นมาก่อนและสินค้าแปลก ๆ เข้ามาในไทยเสมอ อีกทั้งฮันเตอร์ยังเป็นผู้นำตัวฝาแฝดอิน-จัน ไปโชว์ตัวที่สหรัฐ จนกลายเป็นผู้โด่งดังในเวลาต่อมา
ความสัมพันธ์ระหว่างนายฮันเตอร์กับทางการไทยขาดสะบั้นลง เมื่อทางไทยจะทำการรบกับโครชินไชน่า (เวียดนาม) นายฮันเตอร์ได้เสนอขายปืนคาบศิลาจำนวน 200 กระบอก และต้องการให้ทางไทยซื้อให้หมด ทั้งที่ทางการไทยต้องการเพียง 100 กระบอกเท่านั้น และยังยัดเยียดขายเรือกลไฟที่ขึ้นสนิมอีกลำหนึ่ง ประกอบกับพฤติกรรมของนายฮันเตอร์ในระยะหลังที่มักแสดงออกถึงการไม่แสดงความเคารพต่อไทยซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ เช่น เมื่อขายเรือกลไฟไม่ได้ นายฮันเตอร์ได้ประกาศว่าจะนำไปขายให้โครชินไชน่าซึ่งเป็นคู่กรณีของไทยแทน จึงได้เนรเทศนายฮันเตอร์พร้อมกับภรรยาให้ออกนอกราชอาณาจักรและห้ามกลับเข้ามาอีกตลอดชีวิต
แดน บีช แบรดลีย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาถึงบางกอกในสมัย ร.3 เป็นผู้ริเริ่มการแพทย์แผนตะวันตกในไทย ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อ การปลูกฝี ตลอดจนเขียนตำรา ครรภ์ทรักษา ซึ่งเป็นตำราแพทย์แผนปัจจุบันเล่มแรก มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาการของโรคในการคลอดและวิธีการแก้ไขรักษา กับพยายามสอนให้คนไทยเลิกธรรมเนียมการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต โดยคนไทยเรียกหมอบรัดเลย์ อย่างติดปากว่า “หมอปลัดเล”
นอกจากนี้ หมอบรัดเลย์ยังถือว่าเป็นผู้บุกเบิกงานพิมพ์ในประเทศไทย เขาได้ตีพิมพ์ บางกอกรีกอเดอ (The Bangkok Recorder) หรือชื่อไทยคือ “หนังสือจดหมายเหตุ” ถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก ปัจจุบันใช้เอกสารชั้นต้นที่บันทึกข่าวสารเหตุการณ์สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงได้ซื้อลิขสิทธิ์ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย เพื่อนำมาตีพิมพ์ ถือเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย
เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่เมืองกอมแบร์โตลท์ ประเทศฝรั่งเศส ก่อนเดินทางมาถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นปาลเลอกัวซ์อายุได้ 25 ปี ช่วงแรกท่านมาพักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ บางรัก ขณะนั้นยังไม่รู้ภาษาไทยแม้แต่คำเดียว จึงเรียนภาษาไทยอยู่หลายเดือนแล้วค่อยเริ่มต้นทำงานเผยแผ่คริสต์ศาสนา จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสประจำวัดคอนเซ็ปชัญ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนต่างเลื่อมใสศรัทธาท่านเป็นอย่างมาก
ปาลเลอกัวซ์ ยังเป็นผู้นำวิชาความรู้เรื่องสรรพวิทยาการของชาติตะวันตก เช่น ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาละติน และภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งเรื่องคริสต์ศาสนามาให้แก่ชาวสยาม รวมไปถึงท่านยังชอบศึกษาภาษาบาลี ภาษาไทย พระพุทธศาสนา และพงศาวดารสยาม จนกระทั่งมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง และภายหลังท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศสยาม เช่น เล่าเรื่องกรุงสยาม ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น และท่านยังเป็นบุคคลแรกที่สั่งซื้อกล้องถ่ายรูปแบบดาแกร์ (Daguerreotype) จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในสยามอีกด้วย
‘สุนทรภู่’ หรือ ‘พระสุนทรโวหาร’ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เชื่อกันว่าสุนทรภู่ ได้ร่ำเรียนหนังสือในวัยเยาว์กับพระในสำนักวัดชีปะขาว ถนัดในเรื่องการแต่งบทกลอน และผลงานประพันธ์ชิ้นแรกคือ นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร เมื่อสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ ท่านได้รับตำแหน่ง ‘ขุนสุนทรโวหาร’ และได้เริ่มแต่งนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี รวมถึงฝากบทประพันธ์ไว้อีกมากมาย อาทิ นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา พระไชยสุริยา เสภาขุนช้างขุนแผน และผลงานเรื่องสุดท้ายคือ บทละครเรื่องอภัยนุราช
ในช่วงบั้นปลายชีวิต สุนทรภู่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ‘พระสุนทรโวหาร’ และยังเป็นกวีในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความโดดเด่นในด้านการประพันธ์ และสร้างสรรค์ผลงานไว้จำนวนมาก จนได้รับการขนานนามอีกว่า ท่านคือ ‘กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์’