รู้หรือไม่...เกี่ยวกับ ภาษีในประเทศไทย

19 กรกฎาคม 2565 เวลา 18:14 / ผู้เข้าชม : 552 เศรษฐศาสตร์
รู้หรือไม่...เกี่ยวกับ ภาษีในประเทศไทย

ภาษีคืออะไร

ภาษี(Tax) คือ  เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข

ประเภทภาษีในประเทศไทย

ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ต้องเป็นรับภาระภาษีไว้ ทั้งหมดไม่สามารถผลักภาระให้กับผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบารุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เก็บเป็นรายปี จากการประกอบอาชีพ หรือ การลงทุน ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมาย ยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

3. ภาษีป้าย

ภาษีที่จัดเก็บจากป้าย แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ การค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือ โฆษณาการค้า

4. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินใหม่นี้จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี โดยแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ประกอบการเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย และรกร้างว่างเปล่า

5. ภาษีมรดก

ภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกแต่ละรายที่มูลค่ามรดกสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษี และผู้รับมรดกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี และจัดเก็บภาษีในอัตรา 5-10%

6.ภาษีทรัพย์สิน

ภาษีที่ประชาชนผู้ครอบครองทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ (รถ เรือ ฯลฯ) และโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียให้กับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองโดยตรง

ประเภทภาษีในประเทศไทย

ภาษีทางอ้อม(Indirect Tax) คือภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิตผู้จำหน่ายและผู้นาเข้า สินค้า โดยผู้มีหน้าเสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ อัตตราปัจจุบันอยู่ที่ 7%

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น ธนาคาร ประกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษแยกจาก VAT

3. อากรแสตมป์

เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ 

4. ภาษีสรรพสามิต

ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

Related content

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021