โลกมีกี่ทวีปกันนะ?

12 มิถุนายน 2565 เวลา 17:53 / ผู้เข้าชม : 1,756 ภูมิศาสตร์
โลกมีกี่ทวีปกันนะ?

อาณาเขต

  • เหนือ : มหาสมุทรอาร์กติก 
  • ใต้ : มหาสมุทรอินเดีย 
  • ตะวันออก : มหาสมุทรแปซิฟิก  
  • ตะวันตก : ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ภูมิภาคเอเชียแบ่งออกเป็น

  • เอเชียกลาง : คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซ  เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย  และอาเซอร์ไบจาน  
  • เอเชียตะวันตกฉียงใต้ : บาห์เรน ไซปรัส อิหร่าน อิรัก  อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน โอมาน ซีเรีย  กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน 
  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เอเชียใต้ :  อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย  มัลดีฟส์ เนปาล  ปากีสถาน ศรีลังกา 
  • เอเชียตะวันออก :  จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลีเหนือ  เกาหลีใต้ ไต้หวัน 

ลักษณะภูมิอากาศ

  • กลุ่มภูมิอากาศแบบร้อน แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ แบบศูนย์สูตร มักมีฝนตกเกือบทั้งปี แบบมรสุมเขตร้อน และแบบร้อนชื้นสลับแล้ง  
  • กลุ่มภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย แบบทะเลทราย และแบบกึ่งทะเลทราย โดยทั้งสองแบบนั้นมีปริมาณฝนตกน้อย  แต่แบบแรกนั้นมีฝนตกน้อยกว่าแบบที่สอง โดยเพื่อน ๆ สามารถพบ ทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (ทุ่งหญ้าสั้น)  

อาณาเขต 

  • เหนือ : ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีช่องแคบ ยิบรอลตาร์คั้นยุโรปกับแอฟริกา 
  • ใต้ : มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแอตแลนติก 
  • ตะวันออก : ทะเลแดง,มหาสมุทรอินเดีย 
  • ตะวันตก : มหาสมุทรแอตแลนติก  มีอ่าวสำคัญคืออ่าวกินี

ภูมิภาคแอฟริกาแบ่งออกเป็น

  • แอฟริกาเหนือ : อียิปต์ ซูดาน โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนีเซีย ลิเบีย 
  • แอฟริกากลาง : แคมารูน อิเควทอเรียลกินี กาบอง คองโก  แอฟริกากลาง ซาอีร์ อังโกลา แซ มเบีย บุรุนดี รวันดา เซาโตเมและปรินซิเป 
  • แอฟริกาตะวันออก : เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา แทนซาเนีย  โมซัมบิก โซมาเลีย มาดากัสการ์ มาลาวีจีบูดี มอริเซียส  คอโมรอส เซเซลล์ 
  • แอฟริกาตะวันตก : ชาด ไนเจอร์ มาลี มอริเตเนีย ไนจีเรีย โกตดิวัวร์ บูร์ดินาฟาโซ กินี กานา เซเนกัล เบนิน ไลบีเรีย  เซียร์ราลีโอน โตโก กินีบิสเซา แกมเบีย เคปเวิร์ด 
  • แอฟริกาใต้ : สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ นามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว เลเซโธ สวาซิแลนด์

ลักษณะภูมิอากาศทวีปแอฟริกา 

  • ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น เป็นเขตที่มีอากาศร้อน และฝนตกชุก 
  • ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา  เป็นเขตอากาศที่มีฝนตกชุกในฤดูร้อน 
  • ภูมิอากาศแบบทะเลทราย เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งมากที่สุด มีฝนตก น้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี  
  • ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศ ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก 
  • ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เป็นเขตที่มีอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือน ในเขตทะเลทราย มีฝนตกไม่เกิน 15 นิ้วต่อปี  
  • ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ฤดูร้อนอากาศ ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง มีแดดจัด ฤดูหนาวอบอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างชุก 
  • ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น เป็นภูมิอากาศชื้นกึ่งร้อนเป็นเขตที่มีฝนตกมากในฤดูร้อน ฤดู หนาวอากาศอบอุ่น เนื่องจากมีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน 

อาณาเขต

  • เหนือ : มหาสมุทรอาร์กติก ทะเลขาว ทะเลบอลติก ทะเลแบเรนต์ส  
  • ใต้ : ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขา คอเคซัส  ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอกข่าน คาบสมุทร- คาราเบรีย ช่องแคบยิบรอลตา ช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบดาร์ดะเนลส์  
  • ตะวันออก : เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลสาบ- แคสเปียน แบ่งยุโรปกับเอเชีย 
  • ตะวันตก : มหาสมุทรแอตแลนติก

ภูมิภาคยุโรปแบ่งออกเป็น

  • ยุโรปเหนือ : ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์  
  • ยุโรปตะวันตก : ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์  ลักซัมเบิร์ก โมนาโก ไอร์แลนด์  
  • ยุโรปกลาง : ประเทศเยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์  
  • ยุโรปตะวันออก : ประเทศโปแลนด์ เชค สโลวาเกีย ฮังการี สโลวีเนีย  แอลบาเนีย โครเอเชีย บอสเนีย -เฮเซโกเวนา เซอร์เบีย –มอนเตเนโกร  มาซิโดเนีย บัลกาเรีย โรมาเนีย ยูเครน เบลารุส ลิทัวเนีย แลตเวีย  เอสโตเนีย รัสเซีย และมอลโดวา  
  • ยุโรปใต้ : เซอร์เบีย, แอลเบเนีย, โคโซโว, โครเอเชีย, โปรตุเกส,  ไซปรัส, กรีซ, ซานมาริโน, ตุรกี, นครรัฐวาติกัน, บอสเนียและ เฮอร์เซโก, มอนเตเนโก, มอลตา, มาซิโดเนีย, สเปน, สโลวีเนีย,  อันดอร์รา, อิตาลี

ลักษณะภูมิอากาศทวีปยุโรป

  • อากาศแบบทุนดรา ( Tundra Climate ) เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดมากในฤดูหนาว เรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า ลักษณะอากาศแบบขั้วโลก ( Arctic Climate ) เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดยาวนาน 
  • ลักษณะอากาศแบบไทกา ( Taiga Climate ) เป็นบริเวณที่มีอากาศ หนาวเย็น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลักษณะอากาศแบบกึ่งขั้วโลก ( Subarctic Climate ) มีฤดูร้อนยาวนานมากกว่าเขตอากาศแบบทุนดรา 
  • ลักษณะอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ( Marine Westcoast Climate ) มีลักษณะ อากาศอบอุ่นชุ่มชื้น มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี 
  • ลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ( Humid Continental Climate ) ได้แก่บริเวณตอน กลางของยุโรป ภาคกลางและภาคใต้ของรัสเซีย 
  • ลักษณะอากาศแบบชื้นกึ่งร้อน ( Humid Subtropic Climate ) ได้แก่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป ตอนเหนือและตอนกลางของคาบสมุทรบอลข่าน ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ได้รับอิทธิพลจากทะเล จึงทำ ให้มีฝนตกชุกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้งที่เด่นชัด 
  • ลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediteranean Climate ) มีอากาศอบอุ่น ฝนตกชุกในฤดูหนาว ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก พืชพรรณธรรมชาติที่สำคัญคือ คอร์ก โอ๊ค ไม้พุ่มมีหนาม ส้ม องุ่น มะกอก มะนาว ได้แก่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ภาคใต้ของสเปน ฝรั่งเศส  

อาณาเขต 

  • เหนือ : ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ 
  • ตะวันออก : ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก  
  • ตะวันตก : ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก  ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ  
  • ทิศใต้ : ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ 

ภูมิภาคอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น

  • แองโกลอเมริกา : สหรัฐอเมริกา แคนาดา 
  • ละตินอเมริกา : เม็กซิโก เบลีซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา 
  • เกาะในทะเลแคริบเบียน : บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา  สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรเนดา เฮติ เจเมกา เปอร์โตริโก ตรินิแดดและโตเบโก แอนติกาและบาร์บูดา โดมินิกา  กวาเดอลูปมาร์ตินีก เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เซนต์คิดส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์ และเกรนาดีนส์

ลักษณะภูมิอากาศ ทวีปอเมริกาเหนือ

  • ป่าฝนเขตร้อน พืชจะมีใบเขียวตลอดทั้งปี มีความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 
  • ทุ่งหญ้าเมืองร้อน พืชเป็นสะวันนา ต้นไม้จะขึ้นอยู่ห่างกันมากขึ้น และมีพุ่มไม้หนามแหลมและหญ้าสูง ขึ้นกระจายอยู่ทั่ว 
  • ทะเลทราย ประกอบด้วยพืชจำพวกกระบองเพชร ไม้ประเภทมีหนาม และหญ้าใบแข็ง 
  • ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เป็นทุ่งหญ้าสเตปป์มีลักษณะเป็นที่ราบทุ่งหญ้ากว้าง ไม่มีต้นไม้อบอุ่นชื้น เป็นป่าไม้ ผลัดใบมีใบกว้างและป่าไม้สนที่ไม่มีฤดูผลัดใบ ส่วนดินแดนที่อยู่ในทวีปจะมีฝนตกน้อยลง เป็นทุ่งหญ้า แพรรีประกอบด้วยหญ้า ไม้ล้มลุก และไม้พุ่ม 
  • ภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ป่าดิบชื้นในเขตอบอุ่น เป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน และมีมอสเป็นพืช ผิวดินเมดิเตอร์เรเนียน เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้พุ่มเตี้ย หรือเรียกว่า ป่าแคระชื้นภาคพื้นทวีป มีทั้งป่าผลัดใบ ชนิดใบกว้าง และป่าไม้ที่ไม่ผลัดใบชนิดที่มีใบแหลม หรือป่าสนผสมป่าไม้ผลัดใบ 
  • กึ่งขั้วโลก หรือไทกา เป็นป่าสน เป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อน 
  • ทุนดรา พืชจะเป็นพวกสาหร่าย ตะไคร่น้ำ และหญ้ามอสส์ 
  • ทุ่งน้ำแข็ง มีน้ำแข็งปกคลุมจนไม่มีพืชชนิดใดเจริญเติบโตได้ที่สูง พืชจะน้อยลง อุณหภูมิลดลง มีหิมะตก และมีน้ำแข็งปกคลุมยอดเขาและเทือกเขาสูงอยู่ตลอดเวลา

อาณาเขต 

  • เหนือ : ติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก  
  • ตะวันออก : ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก 
  • ใต้ : ติดต่อกับช่องแคบเดรค 
  • ตะวันตก : ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก และคลองปานามา 

ภูมิภาคอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็น

  • เขตที่สูงกายอานา : กายอานา ซูรินาเม เวเนซุเอลา และ  โคลอมเบีย 
  • เขตเทือกเขาแอนดีส : เปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี 
  • เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส :  อาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย 
  • เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล :  ประเทศบราซิล

ลักษณะภูมิอากาศ ทวีปอเมริกาใต้

  • เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มีฝนตกชุกมากทั้งปี  
  • เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาเป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง  
  • เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน  เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี 
  • เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น 
  • เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์  เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร 
  • เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้าน ทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้  
  • เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีฤดูหนาวยาวนาน  เขตภูมิอากาศแบบที่สูง เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง 

อาณาเขต 

  • เหนือ :  แหลมยอร์ก ในคาบสมุทรเคปยอร์ก มีช่องแคบทอร์เรส ติดต่อกับทะเลติมอร์  ทะเลอาราฟูรา อ่าวคาเฟนทาเรีย 
  • ตะวันออก : แหลมไบรอนติดกับทะเลคอรัล และทะเลเทสมัน 
  • ทิศใต้ : แหลมวิลสัน มีช่องแคบบาสส์  กั้นระหว่างเกาะแทสมาเนีย ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลีย 
  • ตะวันตก : แหลมสตีป ติดกับมหาสมุทรอินเดีย 

ภูมิภาคออสเตเรียประกอบด้วย

รัฐต่างๆ 6 รัฐ กับเขตการปกครองอิสระ อีก 2 เขต เรียกว่า เทอร์ริทอรี (Territory) 

  1. รัฐควีนส์แลนด์ เมืองบริสเบน
  2. รัฐนิวเซาท์เวลส์ เมืองซิดนีย์
  3. รัฐวิกตอเรีย เมืองเมลเบิร์น
  4. รัฐออสเตรเลียใต้ เมืองแอดิเลด
  5. รัฐออสเตรเลียตะวันตก เมืองเพิร์ท
  6. รัฐแทสเมเนีย เมืองโฮบาร์ด
  • เทร์ริทอรีเหนือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีประชากรอาศัย อยู่น้อย จัดให้เป็นที่อยู่ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม มีเมืองดาร์วิน
  • ออสเตรเลียแคพิทอล เทร์ริทอรี เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือ แคนเบอร์รา เป็นเขตพิเศษไม่อยู่ในรัฐใด

ลักษณะภูมิอากาศทวีปออสเตเรีย

  • เขตภูมิอากาศร้อนชื้น ลักษณะอากาศมีอุณหภูมิสูงตลอดปี ในฤดูร้อนมีฝนตกชุก  ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ 
  • เขตภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือสะวันนา ลักษณะอากาศมีฝนตกใน ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงตลอดปี บริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือ พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตร้อนผลัดใบ  
  • เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะอากาศกลลางวันร้อน กลางคืนหนาว มีฝนตกน้อย  พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น  
  • เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ลักษณะอากาศกลลางวันร้อนจัด กลางคืนหนาวจัด บริเวณตอนกลาง และภาคตะวันตกของประเทศ 
  • เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศมีฝนตกในฤดูหนาวอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนแห้งแล้ง 
  • เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศอบอุ่นฝนตกชุกตลอดปี บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศ  
  • เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นค่อนข้างหนาว ลักษณะอากาศอบอุ่น มีฝนตกชุกตลอดปี บริเวณตอนใต้ ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย เกาะแทสเมเนีย 

           ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นดินแดนใต้การปกครอง ร่วมโดยพฤตินัยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบสนธิสัญญา แอนตาร์กติกที่ลงนามครั้งแรกโดย 12 ประเทศ ตามด้วยการลงนามอีกเพิ่ม 38 ประเทศ เจ็ด ประเทศ อ้างสิทธิ์ส่วนหนึ่งของ ทวีปแอนตาร์กติกาคือ : ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี อาร์เจนตินา สหราชอาณาจักร  และนอร์เวย์

           ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ใน ทวิปแอนตาร์กติกา อย่างถาวร มีเพียงเพนกวินอาเดลี เพนกวินเจนทู  เพนกวินคิง เพนกวินจักรพรรดิ เพนกวินกระโดด  เพนกวินสายรัดคาง เพนกวินแมกเจลแลน และ เพนกวินสีทอง เพนกวินประมาณ 12 ล้านตัวอาศัย อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างไม่รุนแรงของคาบสมุทร  ทวิปแอนตาร์กติกา

ลักษณะภูมิอากาศ ทวีปแอนตาร์กติกา

            มีลักษณะภูมิอากาศแบบขั้วโลก คือ มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ย ทั้งปีต่ำกว่า  -23 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดที่มนุษย์จะอยู่ได้ คือ -15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ -89.6 องศาเซลเซียส            

            อากาศที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก ( อากาศแห้งมาก )  มีฝนตกน้อยมาก บางบริเวณมามีฝนตกมานาน 200 ปีแล้ว เรียกว่า หุบเขาแห้งแล้ง บริเวณนี้จะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม จึงเห็นเป็นพื้นดินและหินคล้ายทะเลทราย มีลมแรง เกิดจาก การที่เปลือกโลกบริเวณนี้เคลื่อนตัวขึ้นมาเร็วกว่าบริเวณอื่น ทำให้ไม่ทันเป็นพืดน้ำแข็ง           

            ลมที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความเร็วสูงสุดที่วัดได้ถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง บริเวณ ที่ลมแรงที่สุดคือ อ่าวปาฮามา ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอนตาร์กติกา  

Related content

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyrighted 2021. designlandclub. All Rights Reserved.
@ ART AD. DESIGN. 2021